คาร์บอนเครดิตคืออะไร

คาร์บอนเครดิตคือ สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจก สู่สิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการที่บุคคลหรือองค์กรได้ดำเนินโครงการหรือมาตรการที่มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือ ก๊าซเรือนกระจก สู่สิ่งแวดล้อม สิทธิดังกล่าวนี้สามารถวัดปริมาณและ สามารถนำไปซื้อขายในตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้

หากจะให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ก๊าซต่างๆที่ทำให้ปฏิกิริยาเรือนกระจก (จำนวนคาร์บอน) ที่แต่ละองค์กรหรือบุคคลสามารถลดได้ต่อปี และหากปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าเกณฑ์จะถูก ตีราคาเป็นเงิน ก่อนจะถูกขายเป็นเครดิตให้กับองค์กรอื่นได้ ตามข้อตกลงในพิธีสารเกียวโตได้กำหนดกลไกต่างๆ ให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

หนึ่งในกลไกในการลดการเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกนั้นคือ การซื้อขายมลพิษ หรือ คาร์บอนเครดิต กับประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วส่วยใหญ่กำลังอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถลดก๊าซที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเรือน กระจกลงตามที่กำหนดไว้ได้ เพื่อให้ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่างๆเกิดความตื่นตัวและใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตจึงได้เกิดขึ้นเพื่อเป็นตัวกลางในการซื้อขาย ถึงแม้จะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุแต่ก็ดีกว่าปล่อยให้สิ่งแวดล้อมแย่ลงกว่าเดิม

ในทุกกกิจกรรมของทุกกิจการมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อยู่แล้วต่างกันที่มากหรือน้อย

เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ลอยขึ้นสูงก็จะถูกดักจับโดยเหล่าต้นไม้ในใพื้นที่สีเขียว

ต้นไม้ก็จะดูดซับเอาคาร์บอนไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงและปล่อยออกไซด์ออกมา

แต่ว่า เมื่อเวลาผ่านไปความเจริญเข้ามา พื้นที่เมืองขยายขึ้น ความต้องการสิ่งของเพิ่มมากขึ้นเขตอุสาหกรรมจึงต้องขยายขึ้นตาม ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาก็มากยิ่งขึ้น ซึ่งสวนทางกับพื้นที่สีเขียวที่ลดลง จากการตัดหรือขาดการดูแล ปริมาณคาร์บอนที่ถูกดักไว้ก็ลดลงเรื่อยๆ คาร์บอนส่วนเกินก็จะลอยขึ้นไปจับตัวกับโอโซน จนทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก

จึงเกิดแนวคิดที่ว่า ในเมื่อพื้นที่สีเขียวนั้นขาดการดูแลและเริ่มลดลง ก็ให้ผู้ที่ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์จ่ายค่าดูแลพื้นที่สีเขียวควบคู่กับการลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้มากที่สุด

จึงเกิดเป็น คาร์บอนเครดิตขึ้นมาในที่สุด โดยผู้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จะต้องซื้อคาร์บอนเครดิตให้เท่ากับอัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ต่อปีของตัวเองครึ่งหนึ่ง หรือทั้งหมด

สำหรับประเทศไทย ได้เข้าร่วมให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2545 โดยอยู่ในกลุ่มประเทศ กำลังพัฒนาที่ไม่ถูกบังคับให้มีพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่สามารถร่วมดำนินโครงการได้ในฐานะผู้ผลิตคาร์บอนเครดิตจากการดำเนินโครงการ

ในปี พ.ศ. 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีการประกาศพระราช กฤษฎีกาให้จัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซ เรือนกร ะจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. หรือ Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization :TGO) ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรอง และทำความเห็นเกี่ยวกับการให้คำรับรองโครงการที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด รวมถึงติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง ส่งเสริมการพัฒนาโครงการ และการตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนเครดิต) ที่ได้รับ การรับรอง เป็นศูนย์กลางข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานการณ์ดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับ โครงการที่ได้รับคำรับรอง และการขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนเครดิต) ที่ได้รับการรับรอง ส่งเสริมและ พัฒนาศักยภาพ ตลอดจนให้คำแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยจะเป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ

แหล่งข้อมูล https://www.tris.co.th/carbon-credit/

เอกสารอ้างอิง https://www.tris.co.th/wp-content/uploads/2022/05/2565_Article_250565_Carbon_Credit.pdf

เอกสารอ้างอิง http://unfccc.int/resource/docs/convkp/kpeng.pdf